การจดทะเบียนสมรส Marriage Registration
การจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ
Visatogoasia บริการการจดทะเบียนสมรสระหว่างคนไทยกับคนต่างชาติ ในประเทศไทย ซึ่งสามรถดำเนินการจดทะเบียยนสมรสได้ภายใต้กฎหมายไทย ซึ่งท่านจะได้รับการบริการจากทางเราในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การตรวจสอบสถานะการจดทะเบียนทั้งสองฝ่าย การจัดเตรียมเอกสารเพื่อขอใบรับรองโสดจากสถานทูต การนัดหมายสถานทูต การขอรับรบรองโสด การแปลเอกสารและรับรองกงสุลไทย รวมทถึงการบริการพาไปจดทะเบียนสมรสยังสำนักงานเขต พร้อมล่าม พยาน จากเรา
ซึ่งขั้นตอนทั้งหมด Visatogoasia เรามีเจ้าหน้าที่ในการให้คำปรึกษา ดำเนินการบริการ ท่านในทุกขั้นตอน เพื่อความสะดวก ถูกต้อง รวดเร็ว จากทางเรา
บริการของเรา
+ให้คำปรึกษาการจดทะเบียนสมรสฟรี
+แนะนำรายการเอกสาร ขั้นตอนการดำเนินการ
+การนัดหมายสถานทูต ขอใบรับรองโสด
+การแปลเอกสาร รับรองกงสุล
+บริการการจดทะเบียสมรสยัง สำนักงานเขต พร้อมล่าม พยาน
การจดทะเบียนสมรสระหว่างคนไทยกับชาวจีน
เงื่อนไข
1.ฝ่ายคนจีนต้องมีวีซ่าอยู่ไทย 6 เดือน
รายการเอกสาร
1.ฝ่ายหญิง เอกสารราชการ คือบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล ใบหย่า (ถ้ามี)
2.ฝ่ายชาย มีวีซ่าอยู่ไทย 6 เดือน และขอใบรับรองงาน ใบหย่า (ถ้ามี)
3.ข้อมูลพยานคนจีน 2 คน บัตรประชาชน พาสปอร์ต
ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรส
1.ฝ่ายหญิง ฝ่ายชายเตรียมเอกสารตามที่เราแจ้ง
2.ก่อนมาเมืองไทย ฝ่ายชายกรอกฟอร์มใบรับรองโสด ทั้งภาษาจีนและภาษาอังกฤษ (ทางเรามีฟอร์มให้)
3.ทางเราสแกนเอกสาร ส่งเมลเข้าสถานทูตจีน
4.หลังจากฝ่ายชายมาไทย ทางเราพาเข้าสถานทูตจีนเพื่อขอใบรับรองโสด
5.รอ 2 วัน ไปรับใบรับรองโสด พร้อมทั้งรับรองหน้าพาสปอร์ตฝ่ายชาย ชำระค่าธรรมเนียมสถานทูต 3,400 บาท
6.แปลเอกสารและรับรองกงสุลรอ 3 วันทำการ ชำระค่าแปล+รับรองกงสุล 1,600 บาท
7.ยื่นเอกสารที่สำนักงานเขตเช็ค 1 วัน
8.จดทะเบียนสมรสที่สำนักงานเขตได้เลย
การจดทะเบียนสมรสระหว่างคนไทยกับชาวญี่ปุ่น
กรณียื่นจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทยก่อนแล้วแจ้งที่ประเทศญี่ปุ่นภายหลัง
กรณีจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แห่งประเทศไทยนั้น คู่สมรสชาวญี่ปุ่นต้องยื่นขอ “หนังสือรับรองความเป็นโสด” และ “หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส” จากสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และนำเอกสารนั้นไปรับการประทับตรารับรองจากกรมการกงสุลกระทรวงการต่างประเทศไทยก่อนแล้วจึงนำไปยื่น ณ ที่ว่าการเขต/อำเภอของประเทศไทยต่อไป
อนึ่ง คู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่นจะต้องมายื่นขอหนังสือรับรองที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและจำเป็นต้องแสดงตัว ณ ที่ว่าการเขต/อำเภอของประเทศไทยด้วยตนเอง โดยจากระเบียบการดังกล่าวแล้วจะต้องใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์ ดังนั้น คู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่นที่จะยื่นจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทยก่อนนั้น กรุณาเผื่อเวลาการพำนักในประเทศไทยด้วย
ก) การจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการเขต / อำเภอของประเทศไทย
(1) การยื่นขอ “หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส” และ “หนังสือรับรองความเป็นโสด” นั้น กรุณาเตรียมเอกสารตามที่ระบุดังต่อไปนี้
เอกสารจำเป็นของคู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่น
1. ทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคะเซกิโทฮ่ง) 1 ฉบับ
2. ทะเบียนบ้านญี่ปุ่น (จูมินเฮียว) 1 ฉบับ (ซึ่งออกภายใน 3 เดือนนับถึงวันที่มายื่น)
3. หนังสือรับรองการทำงาน (ไซโชคุโชเมโชะ) 1 ฉบับ (ซึ่งออกภายใน 3 เดือนนับถึงวันที่มายื่น)
4. หนังสือรับรองรายได้ (โชะโทคุโชเมโช) 1 ฉบับ (ซึ่งออกภายใน 3 เดือนนับถึงวันที่มายื่น)
5. หนังสือเดินทาง (ตัวจริงและสำเนาหน้ารายละเอียด 1 ชุด)
6. ใบคำร้องในการขอหนังสือรับรอง 1 ฉบับ (กรอกด้วยภาษาญี่ปุ่นหรือภาษาอังกฤษ)
7. แบบสอบถามเพื่อพิมพ์ (หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส)
8. หนังสือมอบอำนาจ 1 ใบ (ในกรณีให้ผู้อื่นมายื่นแทน)
เอกสารจำเป็นของคู่สมรสฝ่ายไทย
1. บัตรประจำตัวประชาชน (ตัวจริงและสำเนา 1 ฉบับ)
2. ทะเบียนบ้าน (ตัวจริงและสำเนา 1 ฉบับ)
3. หนังสือเดินทาง (ตัวจริงและสำเนา 1 ชุด)
4. กรุณาเตรียมเอกสารข้างล่างนี้มาด้วย ในกรณี........
- กรณีเคยสมรสมาก่อน......... ใบสำคัญการหย่า
( ตัวจริงและสำเนา 1 ฉบับ)
- กรณีเคยเปลี่ยนชื่อสกุล......... ใบเปลี่ยนชื่อสกุล
( ตัวจริงและสำเนา 1 ฉบับ)
- กรณีมีบุตรโดยไม่ได้สมรส......... ใบสูติบัตรของเด็ก
( ตัวจริงและสำเนา 1 ฉบับ)
(2) หลังจากเตรียมเอกสารที่กล่าวมาข้างต้นครบถ้วนแล้ว กรุณานำมายื่นที่เคาน์เตอร์ แผนกหนังสือรับรองหนังสือเดินทาง ฝ่ายกงสุล สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
- สถานเอกอัครฯ จะออกหนังสือรับรองความเป็นโสด และ หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติฯ ฉบับภาษาอังกฤษให้คู่สมรส
- ในวันรับเรื่อง คู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่นหรือเจ้าของเรื่องกรุณามาที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นด้วยเพื่อตรวจสอบเนื้อหาในหนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรสซึ่งทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นพิมพ์ให้และลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองดังกล่าว
เงื่อนไขของผู้ยื่นคำร้อง
- ให้ผู้อื่นมายื่นแทนได้ (เวลายื่น กรุณานำหนังสือมอบอำนาจมาด้วย)
- คู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่นหรือเจ้าของเรื่องต้องมารับเรื่องด้วยตนเอง
การรับเรื่อง
- สามารถมารับเรื่องคืนได้ในวันถัดจากวันยื่น
ค่าธรรมเนียม
- หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส480.00 บาท/หนังสือรับรองความเป็นโสด 340.00 บาท
- ชำระค่าธรรมเนียมในวันที่มารับเรื่อง
เวลาทำการเคาน์เตอร์
- เวลายื่นและรับเรื่อง ตั้งแต่เวลา 08:30-12:00 น. 13:30-16:00 น.
- วันจันทร์-วันศุกร์ (วันหยุด วันเสาร์วันอาทิตย์,
วันหยุดราชการไทย,
วันหยุดสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย)
(3) กรุณาแปล “หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส” และ “หนังสือรับรองความเป็นโสด” ที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยออกให้นั้นเป็นภาษาไทยและนำไปรับการประทับตรารับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศไทยด้วย
(4) หลังจากได้รับหนังสือรับรองฯ ที่กระทรวงการต่างประเทศไทยประทับตรารับรองแล้ว ให้คู่สมรสทั้งสองฝ่ายนำหนังสือรับรองฯ ดังกล่าวไปยื่น ณ ที่ว่าการเขต/อำเภอของประเทศไทยเพื่อทำการจดทะเบียนสมรสต่อไป อนึ่ง เกี่ยวกับเอกสารจำเป็นอื่นๆ ที่จะต้องนำไปยื่น ณ ที่ว่าการเขต/อำเภอของประเทศไทยเวลายื่นจดทะเบียนสมรสนั้น กรุณาสอบถามจากที่ว่าเขต/อำเภอของประเทศไทยโดยตรง
หลังจากที่ว่าการเขต/อำเภอของประเทศไทยรับเรื่องการจดทะเบียนสมรสแล้วจะออก “ใบสำคัญการสมรส” ให้คู่สมรสทั้งสอง เป็นการเสร็จสมบูรณ์ของระเบียบการจดทะเบียนในประเทศไทย
(5) คู่สมรสทั้งสองฝ่ายจะยื่นจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการเขต/อำเภอใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการเขต/อำเภอที่คู่สมรสฝ่ายไทยมีทะเบียนบ้านอยู่ หากคู่สมรสหญิงฝ่ายไทยต้องการเปลี่ยนคำนำหน้านาม (จากนางสาวเป็นนาง)หรือต้องการเปลี่ยนนามสกุลตามคู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่นหลังจากจดทะเบียนสมรสแล้ว คู่สมรสฝ่ายไทยกรุณาแจ้งที่ว่าการเขต/อำเภอที่ตนมีทะเบียนบ้านอยู่ด้วย
ข) การแจ้งเรื่องการจดทะเบียนสมรส ณ ประเทศญี่ปุ่น หลังจากจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทย
(1) หลังจากจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทยแล้ว กรุณาแจ้งการจดทะเบียนสมรสดังกล่าว ณ สำนักทะเบียนเขต/อำเภอของประเทศญี่ปุ่นด้วย โดยต้องแจ้งการจดทะเบียนสมรสภายในสามเดือน
การแจ้งการจดทะเบียนสมรส ณ ประเทศญี่ปุ่นนั้นจะแจ้งที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย หรือสำนักทะเบียนเขต/อำเภอของประเทศญี่ปุ่นก็ได้โดยยื่นเอกสารดังต่อไปนี้
(A) กรณีแจ้งการจดทะเบียนสมรส ณ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
[เอกสารจำเป็นของคู่สมรสทั้งฝ่ายไทยและญี่ปุ่น]
1. ใบคำร้องขอจดทะเบียนสมรส 2 ฉบับ → ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องขอจดทะเบียนสมรส
ขอได้ที่เคาน์เตอร์ฝ่ายกงสุล สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
การลงลายมือชื่อของคู่สมรสทั้งสองฝ่ายในช่องลงลายมือชื่อของผู้ยื่นคำร้องฯ กรุณาลงลายมือชื่อตัวบรรจงไม่ใช่ลายเซ็น อนึ่ง กรณีคู่สมรสฝ่ายไทย กรุณาลงลายมือชื่อด้วยภาษาไทย(เขียนด้วยตัวอักษรไทยตัวบรรจงให้อ่านออกได้ ไม่ใช่ลายเซ็น) นอกจากนี้ กรณีชาวต่างชาติก็ไม่จำเป็นต้องใช้ตราประทับหรือการพิมพ์ลายนิ้วมือ
เอกสารจำเป็นของคู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่น
- ทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น(โคะเซกิโทฮ่ง) 2 ฉบับ
[เอกสารจำเป็นของคู่สมรสฝ่ายไทย]
- ใบสำคัญการสมรส (ตัวจริงและสำเนา 1 ชุด), ฉบับแปลภาษาญี่ปุ่น
1 ฉบับ
- ทะเบียนบ้าน (ตัวจริงและสำเนา 1 ชุด), ฉบับแปลภาษาญี่ปุ่น
1 ฉบับ
(B) กรณีแจ้งการจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น (เอกสารจำเป็นที่ระบุไว้ข้างล่างนี้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ดังนั้น กรุณาสอบถามรายละเอียดโดยตรงที่สำนักทะเบียนเขต/ท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่นที่จะแจ้งการจดทะเบียนสมรสก่อน)
เอกสารจำเป็นของคู่สมรสทั้งฝ่ายไทยและญี่ปุ่น
- ใบคำร้องขอจดทะเบียนสมรส 2 ฉบับ
เอกสารจำเป็นของคู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่น
- ทะเบียนครอบครัว (โคะเซกิโทฮ่ง) 1 ฉบับ
เอกสารจำเป็นของคู่สมรสฝ่ายไทย
- ใบสำคัญการสมรส (ตัวจริงและสำเนา 1 ชุด)
- ทะเบียนบ้าน (ตัวจริงและสำเนา 1 ชุด)
หมายเหตุ
ข้อแตกต่างของการแจ้งการจดทะเบียนสมรสแบบ (A) และ
(B) คือ เวลาที่ใช้ในการบันทึกการสมรสลงในทะเบียนครอบครัว (โคะเซกิ)โดยการแจ้งการจดทะเบียนฯ แบบ (A) ต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนครึ่งถึงสองเดือน ในขณะที่การจดทะเบียนแบบ (B) ใช้เวลาประมาณ
1 อาทิตย์
ดังนั้น คู่สมรสที่ต้องการใช้เวลาน้อย ควรเลือกการแจ้งการจดทะเบียนฯ แบบ (B)
ข้อควรระวังเกี่ยวกับการแปลเอกสาร
หนังสือรับรองที่ออกโดยที่ว่าการเขต/อำเภอของประเทศไทยนั้นเป็นภาษาไทย ดังนั้นกรุณาแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นเพื่อนำไปยื่น ณ สำนักทะเบียนเขต/อำเภอท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น
เอกสารฉบับแปลภาษาญี่ปุ่นนำไปยื่นที่ประเทศญี่ปุ่นได้โดยไม่จำเป็นต้องรับการประทับตรารับรองคำแปลจากสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
กรุณาระบุชื่อสกุลของผู้แปลลงในเอกสารฉบับคำแปลด้วย
(2) หลังจากแจ้งการจดทะเบียนสมรสที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว จะใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์
(กรณีแจ้งการจดทะเบียนฯ ที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยใช้เวลาเดือนครึ่งถึงสองเดือน) จึงได้รับทะเบียนครอบครัวใหม่ซึ่งบันทึกการสมรสกับคู่สมรสฝ่ายไทย แล้วจึงถือว่าเสร็จสิ้นระเบียบการการแจ้งการจดทะเบียนสมรส ณ ประเทศญี่ปุ่น อนึ่ง กรณีแจ้งการจดทะเบียนสมรสที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยนั้นสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นและสำนักทะเบียนท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่นจะไม่แจ้งให้คู่สมรสทราบเรื่องทะเบียนครอบครัวใหม่ซึ่งมีการบันทึกการสมรสกับคู่สมรสฝ่ายไทย ดังนั้น คู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่นกรุณาสอบถามจากสำนักทะเบียนท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่นด้วยตนเอง
การจดทะเบียนสมรสสมรสระหว่างคนไทยกับชาวเกาหลีใต้
การจดทะเบียนสมรสกับคนไทยในประเทศไทย จะต้องยื่นเรื่องขอใบรับรองโสด ณ แผนกกงสุล สถานทูตเกาหลีในประเทศไทยก่อน
เอกสารที่ใช้ในการขอใบรับรองโสดสำหรับคนเกาหลี
1. แบบฟอร์มใบรับรองโสดของคนเกาหลี
2. ใบแสดงความสัมพันธ์การสมรสและใบแสดงความสัมพันธ์ในครอบครัวของคนเกาหลี
3. สำเนาหนังสือเดินทางของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย
4. ใบแสดงความโสดของคนไทยฉบับจริงพร้อมสำเนา (ขอรับได้ที่สำนักงานเขตหรืออำเภอ ณ ภูมิลำเนาเดิม)
5. กรณีมีผู้แนะนำโปรดเตรียมเอกสารสำเนาของหน้าสำเนาหนังสือเดินทางของผู้แนะนำแนบด้วย และกรณีคนไทยเคยสมรสแล้วหย่า กรุณาเตรียมใบรับรองโสดและใบหย่ามาด้วย
(กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ)หลังจากที่ได้รับใบรับรองโสดที่ทางสถานทูตออกให้เป็นภาษาอังกฤษมาแล้ว ให้นำใบรับรองโสดนั้นไปแปลเป็นภาษาไทยและรับรองเอกสารที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ในประเทศไทย
เอกสารที่ต้องใช้ในการรับรองเอกสาร
1. ใบรับรองโสด
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาพาสปอร์ตคนละ 1 ชุด
สำนักงานเขตหรืออำเภอในประเทศไทย)นำใบรับรองโสดฉบับภาษาไทยที่ได้รับการรับรองจากกรมการกงสุลไปจดทะเบียนสมรสที่สำนักงานเขต หรืออำเภอในประเทศไทยเพื่อขอใบทะเบียนสมรส
เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนสมรส
1. คนเกาหลี-ใบรับรองโสดที่ได้รับการรับรองแล้วกับสำเนาหนังสือเดินทาง
2. คนไทย-บัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้าน
(กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ)
นำใบจดทะเบียนสมรสที่ได้รับจากสำนักงานเขตหรืออำเภอในประเทศไทยไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ และนำไปรับรอง
เอกสารที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรส
1. ใบทะเบียนสมรส (ฉบับจริงภาษาไทยและฉบับแปลภาษาอังกฤษ) และสำเนา
2. สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทางของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายคนละ 1 ชุด
(แผนกกงสุล สถานทูตเกาหลีในประเทศไทย)
นำสำเนาใบทะเบียนสมรสที่ได้รับการรับรองจากกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ มารับรองที่แผนกกงสุล สถานทูตเกาหลีในประเทศไทยอีกครั้ง
เอกสารที่ต้องใช้ในการรับรองเอกสาร
1. สำเนาใบทะเบียนสมรสที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศและสำเนา
2. สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทางของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายคนละ 1 ชุด
(สำนักงานเขตในประเทศเกาหลี)
นำใบทะเบียนสมรสตัวจริง,
สำเนาใบทะเบียนสมรสที่ได้รับการรับรองแล้ว,
ใบทะเบียนสมรสฉบับแปลภาษาอังกฤษ,
สำเนาพาสปอร์ตของคนไทยไปยื่นแจ้งจดทะเบียนสมรสที่สำนักงานเขตในประเทศเกาหลี
- โปรดสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สำนักงานเขตในประเทศเกาหลีที่ต้องการจะไปแจ้งจดทะเบียนสมรส
- ผู้ที่ต้องการจะยื่นวีซ่าสมรสจะต้องจดทะเบียนสมรสทั้ง 2 ประเทศ ให้เรียบร้อยก่อนถึงจะสามารถยื่นเรื่องขอวีซ่าสมรสในประเทศไทยได้
สอบถามข้อมูลการรับรองเอกสารที่กรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศ
***กรณีที่ต้องการยื่นจดทะเบียนในประเทศเกาหลี ผ่านทางสถานทูตเกาหลีในประเทศไทย
เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นจดทะเบียน
1. แบบฟอร์มแจ้งจดทะเบียนสมรส
2. ใบสมรสไทยตัวจริงพร้อมใบที่แปลเป็นภาษาเกาหลีแล้ว
3. หนังสือเดินทางตัวจริงพร้อมสำเนา
*ต้องมาจดทะเบียนด้วยตัวเองทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง
**ใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 1-2 เดือน
การจดทะเบียนสมรสสมรสระหว่างคนไทยไทยกับชาวไต้หวัน
1. การขอหนังสือรับรองสถานภาพโสดของชาวไต้หวัน (ต้องยื่นด้วยตัวเอง)
1.1 กรอกใบคำร้อง
1.2 หนังสือเดินทางตัวจริงพร้อมสำเนา และสำเนาหน้าวีซ่า (VISA) ที่เข้ามาประเทศไทย 1 ชุด
1.3 สำมะโนครัวไต้หวันภาษาจีนฉบับเต็ม ที่คัดจากทะเบียนราษฎร์ ต้องมีบันทึกในช่องหมายเหตุให้ครบถ้วน (กำหนดอายุไม่เกิน 3 เดือน) ตัวจริง 2 ชุด หนึ่งชุดใช้สำหรับยื่นขอหนังสือรับรองสถานภาพโสด อีกหนึ่งชุดใช้สำหรับยื่นรับรองเอกสารแต่งงาน
1.4 สำเนาหนังสือเดินทางของคู่สมรสไทย (ต้องระบุ วัน เดือน ปี เกิดให้ครบถ้วน มิฉะนั้นจะไม่สามารถเข้าชื่อในทะเบียนบ้านไต้หวันได้)
1.5 คู่สมรสฝ่ายไต้หวันเมื่อได้รับใบรับรองสถานภาพโสดต้องแปลเป็นภาษาไทย และผ่านกระทรวงการต่างประเทศไทยรับรอง หลังจากนั้นจึงสามารถนำไปจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการอำเภอ
1.6 คู่สมรสฝ่ายไทยต้องขอหนังสือรับรองสถานภาพโสด จากที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตที่ตัวเองมีภูมิลำเนาอยู่ และแปลเป็นภาษาอังกฤษ ให้ยื่นรับรองผ่านกระทรวงการต่างประเทศไทยพร้อมกับหนังสือรับรองสถานภาพโสดคู่สมรสไต้หวัน
การจดทะเบียนสมรสสมรสระหว่างคนไทยไทยกับชาวฮ่องกง
เงื่อนไข
1.ฝ่ายคนฮ่องกงต้องมีวีซ่าอยู่ไทย 6 เดือน
รายการเอกสาร
1.ฝ่ายหญิง เอกสารราชการ คือบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล ใบหย่า (ถ้ามี)
2.ฝ่ายชาย มีวีซ่าอยู่ไทย 6 เดือน ใบประกาศโสด(ออกมาจากศูนย์ราชการที่ห้างซาติน) ใบรับรองงาน สเตทเม้นย้อนหลัง 6 เดือน ใบหย่า (ถ้ามี)
3.ข้อมูลพยานคนจีน 2 คน บัตรประชาชน พาสปอร์ต
ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรส
1.ฝ่ายหญิง ฝ่ายชายเตรียมเอกสารตามที่เราแจ้ง
2.ก่อนมาเมืองไทย ฝ่ายชายกรอกฟอร์มใบรับรองโสด ทั้งภาษาจีนและภาษาอังกฤษ (ทางเรามีฟอร์มให้)
3.ทางเราสแกนเอกสาร ส่งเมลเข้าสถานทูตจีน
4.หลังจากฝ่ายชายมาไทย ทางเราพาเข้าสถานทูตจีนเพื่อขอใบรับรองโสด
5.รอ 2 วัน ไปรับใบรับรองโสด พร้อมทั้งรับรองหน้าพาสปอร์ตฝ่ายชาย ชำระค่าธรรมเนียมสถานทูต 3,400 บาท
6.แปลเอกสารและรับรองกงสุลรอ 3 วันทำการ ชำระค่าแปล+รับรองกงสุล 1,600 บาท
7.ยื่นเอกสารที่สำนักงานเขตเช็ค 1 วัน
8.จดทะเบียนสมรสที่สำนักงานเขตได้เลย
ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ ในประเทศไทย
Step1: ให้คู่สมรสของท่านกรอกฟอร์ม “ใบรับรองโสด” เจ้าหน้าที่ของสำนักงาน จะพาท่านไปสถานทูตเพื่อใบขอรับรอง “ใบรับรองโสด“ จากสถานทูตของคู่สมรสของท่าน หลังจากนั้นจากเราจะนำ “ใบรับรองโสด” ไปแปลและรับรองเอกสาร ที่กงสุลไทย แจ้งวัฒนะ
Step2: เจ้าหน้าที่ของสำนักงาน จะน้ดหมายท่านไปที่เขต เพื่อทำการจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าหน้าที่ราชการ เรามีล่ามและพยานให้ท่านในวันจดทะเบียนสมรส
*** หมายเหตุ หากท่านยังไม่ได้จดทะเบียนหย่ากับสามี ท่านไม่สามารถที่จะจดทะเบียนสมรสกับสามีคนใหม่ได้ เนื่องจากจะเป็นการสมรสในขณะที่ตน มีคู่สมรสอยู่แล้ว ย่อมเป็นโมฆะเพราะเป็นการสมรส ซ้อน
คำถาม
1. เอกสารใดที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรสของฝ่ายไทยบ้าง?
ตอบ บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน ใบหย่า (ถ้ามี) ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)
1. เอกสารใดที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรสของฝ่ายไทยบ้าง?
ตอบ บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน ใบหย่า (ถ้ามี) ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)
2. ฝ่ายคู่สมรสชาวต่างชาติ ต้องขอใบรับรองโสด และ รับรองเอกสารจากสถานทูตก่อนหรือไม่?
ตอบ ต้องกระทำ คู่สมรสชาวต่างชาติ ต้องขอใบรับรองโสด และต้องนำไปแปลเป็นภาษาไทยและต้องรับรองที่กงสุลฯ ก่อนถึงจะนำไปจดทะเบียนสมรสได้
ตอบ ต้องกระทำ คู่สมรสชาวต่างชาติ ต้องขอใบรับรองโสด และต้องนำไปแปลเป็นภาษาไทยและต้องรับรองที่กงสุลฯ ก่อนถึงจะนำไปจดทะเบียนสมรสได้
3. กรณีหญิงไทยหลังจากจดทะเบียนหย่าแล้ว สามารถจดทะเบียนสมรสใหม่ได้เลยหรือไม่?
ตอบ สามารถกระทำได้ แต่ต้องมีใบรับรองแพทย์ ว่าไม่ตั้งครรภ์ ในกรณีคือการจดทะเบียนหย่า มาไม่เกิน 310 วัน
ตอบ สามารถกระทำได้ แต่ต้องมีใบรับรองแพทย์ ว่าไม่ตั้งครรภ์ ในกรณีคือการจดทะเบียนหย่า มาไม่เกิน 310 วัน
4. การรับรองเอกสารการแปลจากกงสุลรอนานกี่วัน?
ตอบ มีแบบด่วน 1 วัน และ แบบ 3 วัน
ตอบ มีแบบด่วน 1 วัน และ แบบ 3 วัน
5. หากประสงค์ให้ทาง Visatogoasia ดำเนินการต้องทำอย่างไรบ้าง?
ตอบ เราจะดำเนินการ การขอใบรับรองโสดที่สถานทูตฯ แปลเอกสารของฝ่ายคู่สมรสชาวต่างชาติ บริการไปรับรองเอกสารจากกงสุลฯ การจดทะเบียนสมรสที่เขต/อำเภอ พร้อมล่ามและพยานจากทางเจ้าหน้าที่สำนักงาน
ตอบ เราจะดำเนินการ การขอใบรับรองโสดที่สถานทูตฯ แปลเอกสารของฝ่ายคู่สมรสชาวต่างชาติ บริการไปรับรองเอกสารจากกงสุลฯ การจดทะเบียนสมรสที่เขต/อำเภอ พร้อมล่ามและพยานจากทางเจ้าหน้าที่สำนักงาน